5 /5 ณัฐดนัย ภักดีวีรวงศ์: 352...31 12 2567 วัดดุสิดารามวรวิหาร Wat Dusidaram เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดเสาประโคน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
ที่อยู่: 7 เชิงสะพาน พระปิ่นเกล้า - ท่ารถไฟ แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พระอุโบสถมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกนั่งประนมมือ อยู่ข้างซ้ายขวาข้างละองค์ นั่งพับแพนงเชิงอยู่บนแท่นบัวคว่ำบัวหงายผินหน้าเข้าหาพระประธาน
จิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นภาพเทพชุมนุม เป็นเรื่องทศชาติและพุทธประวัติตอนผจญมาร และตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์
ณัฐดนัย ภักดีวีรวงศ์ .... ถ่ายภาพ.... 31 12 2567 มีทั้งหมด 80 ภาพ
วัดนี้อยู่ในอัลบั้มที่ 352 ของผู้เขียน (ภาพถ่ายของผู้เขียนทุกภาพทุกอัลบั้มสามารถนำไปใช้ได้ ผู้เขียนตั้งใจที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารศาสนาในวงกว้าง โดยไม่ต้องขออนุญาติ การทำให้ธรรมะได้มีการเผยแพร่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้นๆ จึงเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานออกไป )
จากวัดภุมรินทร์ราชปักษี ฝั่งตรงข้ามคือวัดดุสิดาราม ผู้เขียนสอบถาม จนท ว่าจะเข้าไปถ่ายภาพ อุปสรรคคือโบสถ์ไม่ได้เปิดช่วงที่เข้าไปใหม่ๆ โชคดีที่พี่ที่ได้คุยจากวัดเเรกมาเห็นเข้า กำลังจะเข้าไปอุโบสถ ก็เลยได้รับโอกาสถ่ายภาพด้านใน มีความงดงามมากทั้งจากพระประธาน ภาพจิตรกรรม รู้สึกโชคดีที่เข้ามาจังหวะที่ดี ผู้ดูเเลวัดก็ใจดีที่ให้โอกาสถ่ายภาพด้านในเเละด้านนอก ออกมาด้านนอกรอบพระอุโบสถมีความงดงาม เงียบสงบดี ออกจากจุดนี้ไป ทางก่อนเข้าอุโบสถมีต้นไม้ปลูกอยู่หลายต้นดูร่มเย็น เจดีย์สีขาวก็มีให้เห็นเช่นกัน
วัดดุสิดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดเสาประโคน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ได้ทรงสถาปนาขึ้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้ทรงสร้างกุฏิด้านหน้า ๑ คณะ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่น ๆ ทรงบรรจุอัฐิเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคนี ในบริเวณกุฏิที่สร้างใหม่ และพระราชทานนามวัดว่า “วัดดุสิดาราม”
พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด ๓ ชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันจำหลักรูปเทพพนม และรูปพระนารายณ์ทรงครุฑปิดทอง บานประตู หน้าต่าง เขียนลายรดนํ้าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ภายในพระอุโบสถมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกนั่งประนมมืออยู่ข้างซ้ายขวาข้างละองค์ นั่งพับแพนงเชิงอยู่บนแท่นบัวคว่ำบัวหงายผินหน้าเข้าหาพระประธาน จิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นภาพเทพชุมนุม เป็นเรื่องทศชาติและพุทธประวัติตอนผจญมาร และตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นภาพที่ยกย่องกันว่างามยอดเยี่ยมของยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นฝีมือของช่างที่มีชื่อเสียงในรัชกาลที่ ๓
ประวัติ
พระอารามนี้เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่าวัดเสาประโคน ส่วนเรื่องที่จะมีมูลเหตุเป็นมาอย่างไรจึงมีชื่อดังนั้น ไม่ทราบแน่นอน เพราะยังไม่พบหลักฐานยืนยัน มีเพียงแต่เรื่องเล่าว่าเมื่อท่านสุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองในราว พ.ศ. 2371 ก็ได้กล่าวถึงวัดนี้ไว้ว่า
ถึงอารามนามวัดประโคนปัก ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน
เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ฦาชา— นิราศภูเขาทอง
อนึ่ง คำว่า “ประโคน” ซึ่งเป็นชื่อของพระอารามนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิยามไว้ดังนี้ว่า “โคน เห็นจะแปลว่า เสา ว่า หลัก ตัวอย่างเช่นคำ เสาประโคน ประ เป็นคำนำเข้าไปให้ผังพริ้งเพริศ เช่น จบ เป็นประจบ จวบเป็นประจวบ ชุมเป็นประชุม”
ส่วนหลักฐานที่จะแสดงให้รู้ ว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นในปีไหน ใครเป็นผู้สร้าง และได้สร้างถาวรวัตถุหรือปูชนียวัตถุอะไรไว้บ้างในยุคแรก ก็ไม่มีปรากฏ จึงทราบไม่ได้