5 /5 Osiris Pluto: โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ( Wat Ratchanadda / Loha Prasat )
ก่อสร้างโดย เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโลหะปราสาท โดยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทแทนการสร้างเจดีย์ หากแต่สร้างไม่แล้วเสร็จ กระทั่งรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จ
ภายหลังได้มีการซ่อมแซมวัดราชนัดดารามอีกครั้งในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยได้พยายามรักษาแบบแผนเดิมของโลหะปราสาทสมัยรัชกาลที่ 3 ให้มากที่สุด โลหะปราสาทที่นี่จึงถือเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกของไทย ปลูกสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรมในพระพุทธศาสนา 37 ประการ ยอดปราสาทชั้น 7 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน 67 ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบน ด้านบนสุด ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้วย
.......
พระพุทธเสฏฐุตตมมุนินทร พระประธานในพระอุโบสถ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพ
"พระพุทธเสฏฐุตตมมุนินทร " พระนามนั้นมีความหมายว่า พระพุทธองค์ผู้ทรงประเสริฐสูงสุดยิ่งใหญ่เหนือกว่าพระมุนีใดในโลก เป็นพระุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 7 ศอก หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก แขวงเมืองนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงจำนวนมาก มีพระราชประสงค์จะให้ทองแดงนี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมากรขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน 2 องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามที่ทรงสร้างใหม่ 2 แห่ง คือ วัดราชนัดดารามและวัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อหล่อสำเร็จ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดราชนัดดาราม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึง พระราชทานนามว่า พระพุทธเสฏฐุตตมมุนินทร์
พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมมิได้ลงรักปิดทอง ตราบถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5 จึงมีการลงรักปิดทองและยกเศวตฉัตร 5 ชั้น
...........
พระเจดีย์โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ( อยู่บนยอดบนสุด ของโลหะ ปราสาท)
เมื่อครั้งงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบก โลหะปราสาท เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538