Suphakorn Panyangam มากราบสรีระสังขารครูบาอุ่น ไปมาวันที่ 20/2/68 ส่วนประวัติที่หาจากเน็ตก็ตามนี้ครับ
วัดป่าแดงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2327 โดยตั้งชื่อตามบริเวณที่ตั้งวัดซึ่งเป็นป่าไม้แดง
“ครูบาอุ่น”หรือ”หลวงพ่ออุ่น อรุโณ”เป็นคนอยุธยาโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2466 ที่ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา
โยมบิดาชื่อ “คำ” โยมมารดาชื่อ “เดิม” นามสกุลเดิมคือ “กลิ่นเกษร” มีพี่น้อง 3 คน ในวัยเยาว์ โยมบิดามารดาได้ส่งท่านเรียนหนังสือจนจนชั้น ม.2 เมื่อมีอายุครบเกณฑ์ทหาร ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารบกในหน่วยปืนกลเล็ก(ป.ก.น.11)ที่ อ.ปางประอิน อยู่ 2 ปี หลังจากปลดประจำการแล้ว มีอายุ 24 ปี ในปี พ.ศ.2490 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดปางคลอง ต.หัวไผ่ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูพรหมสมาจารย์ วัดประดู่(ตะบอง) ต.ปางกระทุ่ง อ.มหาราช เป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ช้อย วัดปางครองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสมุทธ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายา “อรุโณ” เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนนักธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีและโท ตามลำดับ นอกจากนี้ท่านยังสนใจในด้านพุทธาคมและกัมมัฏฐาน จึงได้ไปฝากตัวเรียนวิชากับ ครูบาอาจารย์หลายรูป ทั้งที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาส อาทิ เช่น หลวงตาบุญ ครูโปร่ง หมอปาน พระอาจารย์ผัด ครูโล พระอุปัชฌาย์เฟื่อง วัดหนองอึ่ง หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง และ หลวงพ่อโอภาสี
พ.ศ.2469 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหันสังข์ อ.บางประหัน อยู่จำพรรษาในฐานะเจ้าอาวาสได้ 9 พรรษา
พ.ศ.2503 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลอยู่อีก 2 พรรษา
พ.ศ.2517 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ รุ่นเดียวกันกับ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
พ.ศ.2518 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูอรุณวรกิจ
ในช่วงที่ครูบาอุ่นอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เพราะการเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ทำให้มีชาวบ้านเข้าหาท่านไม่ขาดสาย ท่านเห็นว่า โอกาสที่จะปฏิบัติธรรมหาความวิเวกทำได้ยาก ในปี พ.ศ.2520 จึงได้ออกจากวัดปางคลอง มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือเพื่อที่จะหาสถานที่สงบปฏิบัติธรรม โดยจุดมุ่งหลายของท่านจะมุ่งไปที่ จ.เชียงราย จนกระทั่งได้พบวัดที่มีความสงบและเป็นวัดที่พุทธบริษัท พระสงฆ์ และชาวบ้านร่วมกันปฏิบัติกัมมัฏฐาน วัดนั้นคือ “วัดป่าแดง” ท่านได้เข้าพำนักที่วัดป่าแดงตั้งแต่นั้น ในฐานะพระลูกวัดเสมือนหลวงตารูปหนึ่ง มีกุฏิหลังเล็กๆอยู่ด้านหลัง โดยไม่แพร่งพรายฐานะอันแท้จริงของท่านให้ใครทราบว่า ท่านเป็นถึงพระครูสัญญาบัตรมาก่อน และมีชื่อเสียงโด่งดังจากภาคกลางมาแล้ว ต่อมาพระอธิการบุญมี เจ้าอาวาสรูปก่อนมรณภาพ คณะกรรมการวัดและศรัทธาชาวบ้าน จึงพร้อมใจกันขอให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา ถึงแม้ครูบาอุ่น ท่านจะหลบลี้หนีหน้าญาติโยม เพื่อหาความสงบในการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งชื่อเสียงค่อยๆลบเลือนหายไปกับกาลเวลาแต่เพชรก็ยังคงเป็น เพชร ชื่อเสียงของท่านเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อศิษย์ของท่านได้ทำ ปฏิทินรูป “ครูบาอุ่น” ขึ้นเพื่อแจกในเทศกาลปีใหม่ ได้เกิดเหตุการณ์บังเอิญขึ้นคือ ขณะที่ชาวบ้านกำลังเผากองขยะอยู่นั้น ปรากฏว่า มีแผ่นกระดาษไม่ไหม้ไฟอยู่แผ่นหนึ่ง เมื่อไปดูก็ปรากฏว่า “เป็นปฏิทินรูปครูบาอุ่น”
เมื่อข่าวแพร่ออกไป ชาวบ้านจึงพากันแตกตื่นหาเก็บรูปปฏิทินใส่กรอบบูชากันเป็นการใหญ่ ชาวบ้านต่างพากันมากราบไหว้บูชาท่านจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
“ครูบาอุ่น” มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2544 สิริรวมอายุได้ 79 ปี พรรษา 55
5 /5