5 /5 ณัฐดนัย ภักดีวีรวงศ์: 318...09 02 2567 วัดสาลวัน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ชื่อสามัญ: วัดสาลวัน, วัดตาพิน, วัดภิญโญสโมสร
พระประธาน: หลวงพ่อพระบรมเขมาจารย์
วันตั้งวัด วันที่ 15 เดือน เมษายน ปี 2450 วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 21 เดือน ธันวาคม ปี 2522
เจ้าอาวาสวัดสาลวัน พระครูวิศิษฏ์ธรรมสาร (นิวัฒน์)
ณัฐดนัย ภักดีวีรวงศ์ ถ่ายภาพ 20 02 2567 มีทั้งหมด 56 ภาพ
วัดนี้อยู่ในอัลบั้มที่ 318 ของผู้เขียน (ภาพถ่ายของผู้เขียนทุกภาพทุกอัลบั้มสามารถนำไปใช้ได้ ผู้เขียนตั้งใจที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารศาสนาในวงกว้าง โดยไม่ต้องขออนุญาติ)
วัดสาลวันอยู่หลังสถานีรถไฟศาลายา อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ หรือตรงข้ามสถานีรถไฟศาลายา เพียงเเต่ต้องเดินข้ามสะพานด้านหน้าวัด เพื่อที่จะผ่านบ้านชุมชนเลี้ยวซ้ายสักนิดเดินสักหน่อย เเล้วเลี้ยวขวาก็จะตรงไปเล็กน้อยก็เจอด้านหลังหลังสถานีรถไฟ เป็นความใจดีของพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่บอกทางให้ เเทนที่จะเสียค่ารถ โดยที่ไม่รู้เส้นทาง อดีตถิ่นกำเนิดลำตัดแม่ประยูรผู้โด่งดังในสมัยหนึ่ง อดีตมีเอกลักษณ์ บ้านทุกหลังในชุมชนทาสีบ้านเป็นสีชมพู เคยเป็นตลาดบ้านไม้เก่า บรรยากาศเงียบสงบ สถานที่วัดมีรูปปั้นในห้องกระจก ท่านชื่อ ประยูร ยมเยี่ยม เป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเพลงลำตัด ในนาม "ลำตัดแม่ประยูร" สถานที่วัดดูสงบติดชุมชนเเละโรงเรียน สะอาดสะอ้าน ดูเป็นระเบียบตาดี สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่จุดกลางจุดเด่นคือหลวงพ่อพุทธมงคลวิศิษฎ์ เเละสิ่งสักการะต่างที่เป็นจุดรวมหลัก
วัดสาลวัน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 7 ไร่ โดยประมาณ
วัดสาลวันเดิมนั้นเรียกว่า วัดตาพิน โดยเมื่อ พ.ศ. 2440 กำนันพิน ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนวิศาล กันโอภาส เป็นนายกองเก็บผลประโยชน์จากที่ดินนาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้นำเงินจากค่ากองนามาสร้างเป็นวัดขึ้น ในสมัยเริ่มแรกที่ก่อตั้งวัดมีเพียงกุฏิสงฆ์และศาลารวมอยู่ด้วยกันเป็นเรือนหมู่ แต่ยังไม่มีอุโบสถ มีพื้นที่กว้างขวางกว่าที่พบในปัจจุบันอย่างมาก มีพระอธิการชด (เดช ดิษดี) เป็นสมภารรูปแรก ได้ร่วมกับกำนันพินและชาวบ้านทำนุบำรุงวัดสาลวันเรื่อยมา ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นเป็นหลังแรกของวัด[1]
ชื่อแต่เดิมของ วัดตาพิน ถูกตั้งตามชื่อของขุนวิศาลกันโอภาส ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น วัดภิญโญสโมสร ตามชื่อผู้สร้าง และเป็น "วัดสาลวัน" ในที่สุด เหตุเพราะหลวงพ่อนำต้นสาละมาปลูก จึงกลายชื่อมาเป็นวัดสาลวัน[2] วัดสาลวันได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2450 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2522[3]
ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อพระบรมเขมาจารย์ เป็นพระประธานของวัดสาลวัน มีจำนวน 3 องค์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
ขอขอบคุณเเหล่งข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอขอบคุณเเหล่งข้อมูลจาก บ้านสุขเกษม 2554 ...Local Guide